วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 5

จากการที่ดิฉันได้เข้ามาอยู่ในโครงการห้องเรียนพิเศษนี้ดิฉันรู้สึกประทับใจกับการที่เราได้มีโอกาสในการทำอะไรหลายอย่างๆที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาระดับสูงขึ้นไป การได้กิจกรรมต่างๆที่เพิ่มกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

กิจกรรมที่ 4

ความรู้สึกจาการที่ได้เรียนรู้เรื่องการทำเว็บบล็อคนี้ ดิฉันคิดว่าเป็นวีธีการสื่อสารอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจมาก
เพราะเป็นการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการสื่อสารกันทางอินเตอร์เน็ตที่น่าสนใจมาก ขอขอบคุณ อ.อภิชาติ วัชรพันธุ์ ดร. จิต นวลแก้ว ตลอดจนอาจารย์ทุกท่านที่ได้เปิดโอกาสให้พวกเราได้เรียนรู้เรื่องนี้

กิจกรรมที่ 3

คุณลุง ประยงค์ รณรงค์

แนวคิด : เป็นผู้ที่ริเริ่มการใช้ " แผนแม่บทชุมชน" เป็นต้นแบบของวิสาหกิจชุมชน ใช้ปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้ การเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วประมวลผลนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเองและชุมชน ให้สามารถพึ่งตนเองได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


คุณลุงขจร ทิพาพงศ์

แนวคิด : การที่เราได้รับความรู้มาแต่ไม่นำไปใช้ก็จะไม่เกิดผลใดๆ แต่การที่เอาความรู้นำไปสู่การปฏิบัติจะก่อให้เกิดปัญญาขึ้น



คุณ ประสิทธิ์ ไม้เรียง

แนวคิด: การจะทำอะไรควรจะทำด้วยความตั้งใจจริงและทำในสิ่งที่ตนชอบและคิดว่ามีความสุขเราก็จะประสบผลสำเร็จไปด้วยดี

กิจกรรมที่ 2






เส้นทางทางการเดินทาง : เดินทางจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศไปยังศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง(51 หมู่9 ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช)ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตรจากตัวเมืองจ. นครศรีธรรมราช และห่างจากตัวอำเภอฉวาง 7 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง

สิ่งที่ประทับใจ : ได้เห็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่สามารถนำมาพัฒนาชุมชนได้อย่างดีเยี่ยม จนชาวชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช

สิ่งที่ได้รับ : 1.มหาวิทยาลัยธรรมชาติ (คุณลุง ขจร ทิพาพงศ์)
-วิธีการเลี้ยงปลาดุก ซึ่งเรียกว่า "ปลาดุกชีวภาพ" ซึ่งเลี้ยงปลาดุกโดยให้กินผักแทนเนื้อ
ทำให้ต้นทุน ต่ำกว่ามาก แต่ผลผลิตที่ได้นั้นใกล้เคียงกัน

-วิธีการเลี้ยงกบ ซึ่งเรียกว่า "กบคอนโด" โดยเลี้ยงกบในบ่อซึ่งมียางรถปิดไว้วางเป็นชั้นๆเหมือนคอนโด ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงธรรมชาติมาก จึงทำให้กบโตได้เร็ว แต่สีของกบนั้นจะมีสีดำ ดังนั้นก่อนนำไปขายจึงย้อมสีกบโดยนำกบไปแช่ในน้ำฟางข้าว จะได้กบสีเหลือง สามารถขายได้ในราคาดีขึ้น

-วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ ดังนี้
ประโยชน์น้ำหมักชีวภาพ * ป้องกันปัญหาน้ำเน่าเสีย
* ป้องกันปัญหาโรคภัยไข้เจ็บของปลาดุก
- มีการเพิ่มมูลค่าของทัพยากรในท้องถิ่นที่มีเพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนเช่น จากข้าว 1 ตันทำรายได้ประมาณ 3,200 บาทเมื่อนำมาผลิตเป็นเส้นขนมจีนทำรายได้ประมาณ 15,000 บาท
- การผลิตผลิตภัณฑ์ต่างทดแทนเพื่อลดรายจ่ายในครอบครัวเช่นการ ผลิตน้ำยาล้างจาน ครีมอาบน้ำ น้ำยาปรับผ้านุ่ม อีกทั้งในการผลิตยังผสมผสานภูมิปัญญาของชาวบ้านด้วย เช่น การผลิตยาสระผม -- มะกรูด ช่วยให้ผมลื่น ,บอระเพ็ด ลดการผมร่วง การผลิตยารักษาโรค-- ใบชะมวง ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ,ใบต้นขี้เหล็ก ช่วยให้นอนหลับง่าย
2. บ้านหมอดิน (คุณลุง อนันต์ สุวรรณโณ)
- ทราบช่วงเวลาในการออกดอก ออกผลของพืช
-วิธีการใส่ปุ่ยที่หมาะสม คือการใช้ปุ่ยวิทยาศาสตร์กับปุ๋ยเคมีควบคู่กัน
- การตรวจสอบคุณภาพดิน
3. ศูนย์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (คุณพรประสิทธิ์ ไม้เรียง )
- ทราบวีธีการขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของต้น กล้วยไม้ โดยมีขั้นตอนหลายขั้นตอน โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของต้นกล้วยไม้เราจะใช้สปอร์ แล้วนำมาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ในสภาวะปลอดเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อของตันกล้วยไม้
- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะทำกับพืชอีกหลายชนิด เช่น กล้วยไม้ ดอกหน้าวัว พืชไม้ประดับ
- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนอกจากจะเป็นการอนุรักษ์พันธ์พืชยังเป็นการสร้างรายได้อีกด้วย









กิจกรรมที่ 1

ชื่อ : น.ส ฐิตาพร อักษรรัตน์ ชื่อเล่น : เตย

อายุ : 16 ปี วันเกิด : 10 เมษายน 2537

การศึกษา :ชั้นประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง

ชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนเบญจมราชูทิศ

ปัจจุบัน กำลังศึกษาชั้น ม.4โรงเรียนเบญจมราชูทิศ

ปรัชญา : ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

สิ่งที่ชอบ : ฟังเพลง อ่านนิยาย

สิ่งที่ไม่ชอบ : สัตว์เลื้อยคลาน